Beychevelle ไวน์ชั้นหรูของแวร์ซายแห่งบอร์โดซ์
ความหรูหราและดูแพงนั้น เป็นสิ่งที่ยังเป็นเอกลักษณ์ของไวน์ที่ยังคงชวนน่าหลงใหลตั้งแต่ยุคสมัยก่อนของไวน์ในทวีปยุโรปที่ได้มีการพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน เพราะถือว่าเป็นดินแดนที่มีการปลูกองุ่นไว้อย่างมากมาย โดยเฉพาะไวน์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเภทของไวน์ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ซึ่งมีประวัติความเป็นมานับตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ จึงถือได้ว่าไวน์ฝรั่งเศสเป็นไวน์ที่อายุยืนยาวมานานนับพันปี และในตอนที่มีการมาถึงของศาสนาคริสต์ ก็ยังถือได้ว่าไวน์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมากในการประกอบพิธี ซึ่งนั่นจึงทำให้ในยุคกลาง มีพระสงฆ์ได้ปลูกองุ่นขึ้นและยังมีความรู้ในด้านการผลิตไวน์ รวมไปถึงในกลุ่มขุนนางด้วยเช่นกัน ซึ่งในฝรั่งเศสนั้นมีการปรากฏชนิดไวน์ที่มีชื่อเสียงอยู่ในหลาย ๆ ภูมิภาคไวน์ที่อยู่ในฝรั่งเศส หนึ่งในนั้นคือ แคว้นบอร์โดซ์ ซึ่งมีการผลิตไวน์ชั้นดี โดยเฉพาะไวน์แดง รวมไปถึงทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยในการทำไวน์ ตั้งแต่เรื่องสภาพดิน ภูมิอากาศที่ไม่ร้อนจนเกินไป นั่นจึงทำให้ในเขตภูมิภาคนี้เป็นดินแดนของไวน์ชั้นดีของฝรั่งเศส และหนึ่งในไวน์ที่มีการกำเนิดขึ้นคือ Beychevelle
Beychevelle ถือกำเนิดขึ้นในเมือง St. Julien ในบอร์โดซ์ โดยกำเนิดในโรงกลั่นไวน์ Chateau Beychevelle อันเป็นสถานที่ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความงดงามของสถาปัตยกรรมและการจัดสวนจนได้ชื่อว่าเป็น “พระราชวังแวร์ซายแห่งบอร์โดซ์” เลยทีเดียว โดยมันถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1446 โดยตระกูล Foix Candale ก่อนที่จะถูกโยกย้ายไปอยู่ในภายใต้การดูแลของ Dukes of Epernon นั่นจึงส่งผลทำให้เรือทุกใบที่ต้องแล่นผ่านสถานที่แห่งนี้ จำต้องลดใบเรือลงเพื่อทำความเคารพ จนเป็นที่มาของชื่อ Beychevelle (แปลว่า ใบเรือที่ถูกลดลง) และยังถูกนำมาใช้ในการสร้างสัญลักษณ์อันเป็นโลโก้ของไวน์ยี่ห้อนี้อีกด้วย หลังจากนั้นสถานที่แห่งนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนมือไปอยู่ในหลายต่อหลายตระกูล จนกระทั่งมาถึงมือของ Pierre Castel เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Castel Freres ได้เข้ามาซื้อสถานที่แห่งนี้ในที่สุด
Beychevelle เป็นไวน์ที่ยังคงความเก่าแก่ในสไตล์ของไวน์บอร์โดซ์แบบดั้งเดิม โดยในไวน์ชั้นดีเยี่ยมจะอยู่ในช่วง 8-12 ปี และควรรินออกมาก่อนสัก 2-4 ชั่วโมง เพื่อทำให้ไวน์จะกลิ่นหอมออกมา หลังจากนั้นก็ควรจะเก็บไว้ในอุณหภูมิ 15.5 องศาเซลเซียส 60 องศาฟาเรนไฮต์ เพื่อทำให้ไวน์ยี่ห้อนี้มีความสดใหม่และเอร็ดอร่อยนั่นเอง